![]() |
พิพิธภัณฑ์ฝิ่น จังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงแสน สถานที่จัดแสดงเครื่องมือและเครื่องใช้ในการสูบฝิ่นของผู้คนในอดีต มีทั้งประวัติของสามเหลี่ยมทองคำสถานที่ปลูกฝิ่นตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้สูบฝิ่น ![]() ![]() ![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น (House of Opium Museum) บ้านฝิ่นเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนเล็กๆ แต่วัตถุสิ่งของที่จัดแสดงนั้นน่าสนใจมากเป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องมือและเครื่องใช้ในการสูบฝิ่นของผู้คนในอดีตมีทั้งประวัติของสามเหลี่ยมทองคำ ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้สูบฝิ่นแสดงให้ชมส่วนชั้นล่างของบ้านฝิ่นเป็นสถานที่ขายของที่ระลึก ผู้ก่อตั้งคือคุณ พัชรี ศรีมัธยกุล ซึ่งเป็นคนเชียงแสนโดยกำเนิด จบการศึกษาจากคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชีวิตเกี่ยวเนื่องกับสามเหลี่ยมทองคำเริ่มต้นจากการเปิดร้านค้าขายของที่ระลึกและของเก่า ตำแหน่งของร้านอยู่ต่ำลงมาจากที่ตั้งบ้านฝิ่นในปัจจุบัน ในช่วงปี 2533 คุณ พัชรี เริ่มที่จะตระหนักว่าของเก่าที่ขายอยู่ในร้านจะหมดไปจึงเริ่มความคิดที่จะทำพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ของเก่าที่ตนขาย โดย คุณ รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ตั้งชื่อของพิพิธภัณฑ์ให้
ชาวเขาเผ่าอาข่ามีตำนานที่เล่าสืบกันต่อมาเกี่ยวกับกำเนิดของฝิ่นว่า “นานมาแล้วยังมีหญิงสาวชาวอาข่าคนหนึ่งเธอมีความสวยเป็นเลิศจนเป็นที่กล่าวถึง เป็นที่หมายปองของชายหนุ่มทั้งหลายในบรรดาชายหนุ่มทั้งนี้มีทั้งหมด 7 คนที่ประทับใจเธอ และแล้วชายหนุ่มทั้ง 7 ต่างก็เดินทางมาหาเธอในวันเดียวกันเพื่อขอแต่งงานกับเธอ หญิงสาวไม่อยากเลือกชายใดชายหนึ่งเพียงคนเดียวเพราะจะทำให้ชายหนุ่มที่เหลือเสียใจและอิจฉา เธอจึงตัดสินใจได้เสียกับชายทั้ง 7 คนทั้งๆที่เธอรู้ว่ามันจะทำให้เธอต้องตายแต่เธอก็ยินดีที่จะเสียสละและเมื่อถึงเวลาที่เธอทนต่อไปไม่ไหวเธอจะขอตายและเป็นดอกไม้แสนสวยมาให้เชยชมแทนก่อนตาย เธอก็ได้สั่งเสียญาติๆให้ช่วยดูหลุมฝังศพเธอให้ดีเพราะจะมีดอกไม้แสนสวยงอกขึ้นมาจากส่วนที่เป็นหัวใจของเธอ ใครก็ตามที่ได้ลิ้มรสผลไม้นี้แล้วจะต้องติดใจเกิดความต้องการแล้วต้องการอีกแต่ระวังให้ดีผลไม้นี้นอกจากจะให้ประโยชน์แล้วมันยังให้โทษอย่างร้ายแรงด้วย”
เมื่อสมัยก่อนจะมีชาวเขาเผาต่างๆมาอาศัยอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำกันหลายเผ่า เช่น มูซอ,ลีอ,กระเหรี่ยงคอยาวฯกันเป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะมีช่วงฤดูการทำเกษตรตลอดปีรวมทั้งการปลูกฝิ่น
บ้านแสนสุขขอแนะนำความเป็นมาของดอกฝิ่นถึงที่มาที่ไปแล้วทำไมถึงมาอยู่ที่สามเหลี่ยมทองคำได้ ในทางชีววิทยาฝิ่นเป็นพืชพื้นเมืองแถบเมดิเตอร์เรเนียน ใครเป็นผู้ค้นพบฝิ่นนั้นยังเป็นความลี้ลับ (แต่เชื่อกันว่าการใช้ฝิ่นเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในแถบประเทศกรีก โรมัน เปอร์เซีย และอียิปต์ ประชาชนในประเทศเหล่านี้ ได้ตั้งชื่อพืชชนิดนี้ว่า “OPIUM” ซึ่งหมายถึง “น้ำผลไม้” ) จากหลักฐานทางโบราณคดี วรรณคดี ได้มีการค้นพบร่องรอยและเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับฝิ่น เช่น การขุดพ้นกล้องยาฝิ่นงาช้าง (สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 3,000 ปี) ที่เกาะไซปรัส ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ รู้จักสูบฝิ่นมาตั้งแต่กว่าพันปีก่อนคริสตศักราชหรือในมหากาพย์หลายๆ เรื่องของกรีก เช่น อีเลียด และ โอดิสซี,เฮเลน ออฟ ทรอย ฯลฯ แม้กระทั่งเนื้อเพลงสวดบูชาพระแม่เจ้าดีมีเตอร์ก็มีการกล่าวถึงสรรพคุณของฝิ่น นอกจากนั้นทางทฤษฎียาแผนโบราณของท่านฮิปโปรเครตีส บิดาแห่งวงการแพทย์ ก็ถือว่า ฝิ่นเป็นยาที่มีสรรพคุณพิเศษใช้ระงับความเจ็บปวดได้เป็นอย่างดีและสามารถบรรเทารักษาโรคได้สารพัดโรค จากดินแดนตะวันออกกลาง ราว ๆ 356-323 ปีก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดอร์มหาราชคือผู้ที่นำฝิ่นเข้าไปเผยแพร่ในประเทศอินเดีย และเข้าสู่จีนตามลำดับและที่จีนนี้เอง อังกฤษผู้มีประโยชน์อย่างมหาศาล จากการผูกขาดค้าขายฝิ่นให้ชาวจีน เกิดการขัดแย้งกับรัฐบาลจีน ในปี ค.ศ. 1859 จนเกิดการสู้รบกัน กลายเป็นสงครามฝิ่นที่ยืดเยื้อถึง6 ปีและจีนตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ต่อมาราวๆปลายศตวรรษที่ 19 ต้นศตวรรษที่ 20 ชาวเขาหลายเผ่าจากจีนได้อพยพลงใต้มาอาศัยอยู่ตามเทือกเขาแถบชายแดนไทย ลาว พม่า พร้อมกับนำเอาต้นฝิ่นมาแพร่พันธุ์ด้วย “ฝิ่น” จึงเข้าสู่สามเหลี่ยมทองคำและเริ่มแพร่หลายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตำนานฝิ่นที่เล่าขานกันในหมู่ชาวเขาเผ่าต่างๆ มักจะมีเค้าโครง เรื่องที่คล้ายคลึงกันแทบทุกเผ่าคือเล่าว่าต้นฝิ่นงอกออกมาจากหลุมฝังศพของผู้หญิง บางเผ่าก็เป็นหลุมฝังศพของหญิงสาว บางเผ่าก็เป็นหญิงชราและมีกลิ่นเหม็น ดังเช่น ตำนานกำเนิดยาสูบ
พิพิธภัณฑ์ฝิ่นแห่งนี้จะมีห้องแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการเสพฝิ่นในยุคต่างๆและแบบต่างๆทั้งตรงชั่ง,เป้ง,กล้องยาสูบเป็นต้น บ้านแสนสุขจะพาไปรู้จักอุปกรณ์การที่ใช้ในการเสพฝิ่นกัน มีดกรีดฝิ่น: ประกอบด้วยใบมีดตรง หรือปลายงอเล็กๆ ตั้งแต่ 2-5 ใบ มัดติดกัน ใช้กรีดผลฝิ่นให้ยางไหลออกมา เกรียง (รูปวงเดือน): ใช้ปาดยางฝิ่นที่แห้งแล้วออกจากผลฝิ่น ฝิ่นที่ได้เรียกว่า “ฝิ่นดิบ” เกรียง (รูปตรง): ใช้ปาดและขูดฝิ่นแล้วนำฝิ่นดิบนี้ไปคี่ยวฝิ่นในกระทะเคี่ยวฝิ่น กระทะเคี่ยวฝิ่น: โดยมากจะทำด้วยโลหะทองแดง ใช้สำหรับเคี่ยวฝิ่น จากฝิ่นดิบให้เป็น “ฝิ่นสุก” เวลาจะสูบชาวเขานิยมผสมกับยาแก้ปวด โดยบดให้เข้ากันแล้วอุ่นในกระทะเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บนตะเกียงสูบฝิ่น ฝิ่นที่เหลือก็จะเก็บไว้ในตลับเก็บฝิ่น ซ้ำทำขึ้นโดยเฉพาะ ตลับเก็บฝิ่น: มักจะทำด้วยเงิน เหรียญเงิน ไม้ เขาสัตว์ ถ้าเป็นฝิ่นก้อนใหญ่ก็มักจะห่อด้วยใบตอง หรือ กระดาษสา
ตาชั่งฝิ่น ชาวไทยใหญ่ (ไต) เป็นผู้ทำตาชั่งและตลับเก็บ สำหรับตลับเก็บนั้นทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายสวยงามทั้งที่เป็นรูปคน สัตว์ และดอกไม้ นิยมลงรัก (สีดำ) และทาชาด (สีแดง) เพื่อให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ตาชั่งฝิ่นแบบจีน คันชั่งทำด้วยงาช้างและกระดูกสัตว์
เป้ง ลูกน้ำหนัก สำหรับใช้กับตาชั่งฝิ่น นิยมทำเป็นรูปสัตว์ เช่น หงส์ เป็ด ช้าง นกกาละแวกและสัตว์ 12 ปีนักษัตร ตลอดจนสัตว์อื่น ๆ เช่น เต่า ปลา เป็นต้น รูปทรงอื่น ๆ ที่มีใช้มีทรงบาตรและทรงเหลี่ยม เป้งมักทำถ้วยสำริด (โลหะผสม) และทองเหลืองเวลาไม่ใช้จะเก็บไว้ในถุงผ้าที่มีหูรูด
หมอน เนื่องจากท่านอนสูบฝิ่นเป็นท่านอนตะแคงข้าง ดังนั้น จึงต้องใช้หมอนหนุนศีรษะอย่างแข็งและสูงประมาณ 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) หมอนนอนสูบฝิ่น โดยมากจะทำด้วยสัตว์อย่างแข็ง ไม้ หรือกระเบื้องเคลือบเงา หมอนเหล่านี้ช่วยยันศีรษะให้สูงพอเหมาะและทำให้รู้สึกเย็นถึงแม้ว่าหมอนจะแข็งมากแต่หลังจากสูบฝิ่นลักสามสี่เบ้า ผู้สูบจะรู้สึกเหมือนกับนอนหนุนปุยเมฆเลยทีเดียว
กล้องสูบฝิ่น เครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสูบฝิ่น ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน ที่สำคัญ คือ ลำกล้องหรือด้ามที่ทำด้วยลำไผ่กลวงตรงและเบ้าที่ทำจากดินเผา รูปทรงต่างๆเจาะรูเล็กๆ ประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ตรงจุดศูนย์กลางเบ้าสำหรับบรรจุฝิ่นที่พร้อมจะสูบ
ไปป์น้ำ เป็นการพัฒนามาจากกล้องยาสูบโดยมีน้ำเข้ามาประกอบในการเสพและรูปทรงที่เปลี่ยนไปมีศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง
บคุคลที่วงการยาเสพติดที่จะไม่กส่างถึงไม่ได้ "ขุนส่า" ราชายาเสพติดที่มีอิทธิพลมากและเป็นที่ต้องการตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วโลก บิดาชื่อ เล่าจาง หรือ ขุนสาม เป็นชาวจีนฮ่อ มารดาชื่อ นางคำ เป็นชาวไต ขุนส่า สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเมืองตองกีเคยเป็นหัวหน้าหน่วย “ก่าก่วยแย” ของพม่า (หน่วยปราบปรามพวกไตกู้ชาติ) และเคยเป็นหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับทั่วไปของพม่าจนได้ยศ “พันเอก” ตั้งแต่ปี 2506 ขุนส่ามีลูกน้องที่เชี่ยวชาญในการผลิดเฮโรอีนมากมาย และมีกองกำลังคุ้มกันสินค้าที่เข้มแข็ง จึงทำให้เขามีอิทธิพลกว้างขวางในการค้าทั้งเฮโรอีน หยก อัญมณี และงาช้าง
ประมาณช่วงปลายปี 2509 ขุนส่าถูกจับที่เมืองตองกีและถูกคุมขังอยู่ในคุกพม่านานถึง 7 ปี จนกระทั่งจางซูเฉียน (ฟ้าลั่น) เพื่อนรักของขุนส่าได้วางแผนจับตัวนายแพทย์ชาวรัสเซีย 2 คน ที่ทางประเทศรัสเซียส่งมาช่วยรัฐบาลพม่า ไปเป็นตัวประกันเพื่อแลกกับอิสรภาพของขุนส่า ขุนส่าจึงสามารถออกมาร่วมขบวนการกู้ชาติไตได้อีกโดยอาศัยเงินจากการค้าเฮโรอีนจนถูกประนาณจากทั่วโลกซึ่งขุนส่าก็ได้ให้เหตุผลของการที่ทำเช่นนี้ว่า เพื่อเป็นการแลกกับอิสระภาพของชนชาติไต แม้ว่าจะเป็นมหันตภัยของคนทั้งโลกดังจะเห็นได้จากคำกล่าวของเขาว่า “ถ้าข้าพเจ้าได้ประเทศ(ฉาน)คืนมาจะทำให้คน ล้านคนของข้าพเจ้ามีความสุข แต่ถ้าข้าพเจ้าสามารถระงับปัญหายาเสพติดได้จะทำให้คนทั้งโลกมีความสุข”
ตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2539 กองทัพเมืองไตของขุนส่า ได้ชื่อว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธชาวไทยใหญ่ที่เข้มแข็งที่สุด แต่หลังจากเดือนมกราคม 2538 ขุนส่าผู้เคยประกาศตัวว่า จะสู้รบเพื่อชาวไทยใหญ่ กลับวางอาวุธยอมมอบตัว และมอบอาวุธทั้งหมด ให้รัฐบาลพม่าแลกกับผลประโยชน์จากธุรกิจต่าง ๆ ในพื้นที่และปัจจุบัน ขุนส่าพักรักษาต้วอยู่ในเมืองย่างกุ้ง เมืองหลวงของพม่าหลังจากขุนส่ามอบตัว กองทับเมืองไตก็แตกออกเป็นเสี่ยงๆนักรบไทยใหญ่แยกตัวออกไปตั้งกองกำลังเป็นของตัวเอง ปัจจุบันหลายกลุ่มยอมเจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าเหลือเพียงกองกำลัง SSA SOUTHของเจ้ายอดศึกที่ยังสู้อยู่บริเวณรัฐฉานตอนกลาง เมื่อเดินชมพิพิธภัณฑ์ฝิ่นแล้วที่ชั้นล่างบริเวณทางออกจะมีร้านจพหน่ายของที่ระลึกมากมายทั้ง ภาพวาด,ตุ๊กตาไม้,ของตกแต่งบ้านต่างๆเลือกชมกันได้อย่างจุใจ
พิพิธภัณฑ์ฝิ่นอยู่เยื้องกับพระพุทธนวลานตื้อ หลังจากกราบนมัสการองค์พระแล้วขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวไปชมเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์ฝิ่นที่เราเองอาจไม่เคยรู้มาก่อน เวลาทำการ: 7.00 – 19.00 น. ทุกวัน บัตรเข้าชม 20 บาท พร้อมรูปเป็นของที่ระลึก การเดินทาง 1. วิธีไปพิพิธภัณฑ์ฝิ่น โดยรถยนต์ส่วนตัวใช้ทางหลวงหมายเลข 10 เมื่อผ่านอ. แม่จันเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข1016 (แม่จัน-เชียงแสน)ระยะทาง 29 กิโลเมตรก่อนถึงกำแพงเมืองเกาเชียงแสนมีสี่แยกบายพาสเลี้ยวซ้ายมีป้ายบอกทางไปสามเหลี่ยมทองคำหรือเลือกทางตรงไปผ่านอำเภอเชียงแสน จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบน้ำโขงอีก 12 กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์ฝิ่นอยู่เยื้องพระพุทธลานตื้อ 100 เมตร ขวามือ 2.วิธีไปพิพิธภัณฑ์ฝิ่น โดยรถโดยสารประจำทางจากเชียงรายนั่งรถบัสสีเขียวสายเชียงราย-เชียงแสน จากสถานีขนส่งเชียงใหม่จากนั้นต่อรถสองแถวสายเชียงราย-สบรวก ที่หน้าตลาดเชียงแสน พิพิธภัณฑ์ฝิ่นอยู่เยื้องพระพุทธลานตื้อ 100 เมตร ขวามือ พิกัดดาวเทียม n20.351226,e100.081673 แผนที่การเดินทาง |