ส่งต่อให้เพื่อน |
พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา(มหาวิทยาลัยทักษิณ) จังหวัดสงขลา อำเภออำเภอเมือง ต้องบอกเลยว่าพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยาแห่งนี้ของเยอะมากมีข้าวของเครื่องใช้จริงที่จัดแสดงประมาณ 50,000 ชื้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเต็มๆของที่นีคือ พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษินคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ถ้าใครเคยลองหาข้อมูลในเนทเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้ อาจจะเคยเห็นเค้าเรียกกันสั้นๆว่า "สภาบันทักษิณคดีศึกษา" ฟังดูแล้วงงๆนะ ดูมัน คดี และทักษิณ พาลจะหลงเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องราวของอดีตนายกรัฐมนตรีของเรารึเปล่า ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลยนะครับ คนนำเสนอก็ช่างว่าไปจริงๆ เอาเป็นว่าบ้านแสนสุขขออนุญาติเรียกชื่อสถานที่นี้ในแบบสั้นๆว่า พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยาฯ ล่ะกันนะครับ ขึ้นชื่อว่า "พิพิธภัณฑ์" แล้ว มีสองสิ่งที่เป็นคุณลักษณะสำคัญสำหรับคนทั่วไปคือ ความน่าสนใจ และ ความน่าเบื่อ กรณีคนที่ชอบแหล่งเรียนรู้อย่างพิพิธภัณท์นั้นมีคุณลักษณะเดียวคือ ความน่าสนใจ สำหรับ “พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา” ตั้งอยู๋ที่ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งสถาบันทักษิณคดีศึกษานั้นสังกัดมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา โดยที่นี่จะเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านรวมสมัยที่จัดแสดงวิถีชีวิตของชาวใต้ วัฒนธรรมท้องถิ่น เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงภูมิปัญญาของกลุ่มชนต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย โดยตำแหน่งและที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์นี้ อยู่บนเนินเขาหากใครขับรถไปก็ขับขึ้นไปได้เลย แล้วก็จอดรถบนลานจอดด้านบนแล้วก็เข้าตัวอาคาร แต่สำหรับคนที่ใช้บริการรถสาธารณะเมื่อซื้อบัตรชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ต้องเดินเท้าขึ้นบันไดไปครับ ตรงนี้ค่อยๆเดินนะครับ อย่าเร่งเพราะมันเหนื่อยพอควรเลยที่เดียว พูดง่ายๆว่าเล่นเอาหอบเหมือนกัน เมื่อถึงด้านบนแล้วพวกเราชาวคณะแวะล้างหน้าล้างตาพักเหนื่อยกันก่อนเลย แล้วเดินขึ้นหอคอยไปยังจุดชมวิว...ตรงนี้จะมองเห็นวิวทะเลสาบสวยๆ เห็นสะพานติณสูลลานนท์เห็นกระชังปลากระพงที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ ลมพัดเย็นสบาย....เฮ้อ เพิ่งกินมาอิ่มๆ เจอลมพัดเย็นๆอยากจะนอนซะให้ได้เลย .....ขอบอก ต้องบอกเลยว่าพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยาแห่งนี้ของเยอะมากมีข้าวของเครื่องใช้จริงที่จัดแสดงประมาณ 50,000 ชื้น ผสมผสานกับสื่ออื่นๆเช่น หุ่นจำลอง งานภาพ เสียงวิดีทัศน์และมัลติมีเดีย แสดงประกอบเนื้อหา เป็นการจัดแสดงแบบนิทรรศการถาวรคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 3,300 ตารางเมตร ถ้าต้องเดินดูกันละเอียดๆ เดินกันจนเมื่อยเลยแหล่ะครับ ทั้งหมดทีว่านี้มีการแบ่งเป็น 4 กลุ่มอาคาร และในแต่ละกลุ่มอาคารก็จะแยกย่อยเป็นห้องๆอีกครับ ซึ่งเนื้อหาสาระจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับภาคใต้ตอนล่างทั้งหมดครับ ห้องมีดและศาสราวุธ ห้องเครื่องมือจับสัตว์ ห้องเครื่องปั้นดินเผา ห้องวัฒนธรรมโลหะ ห้องผ้าทอพื้นเมือง ห้องกระต่ายขูดมะพร้าว จัดแสดง “กระต่ายขูดมะพร้าว” หรือที่ภาคใต้เรียกกันว่า “เหล็กขูด” ที่ทำมาจากวัสดุหลากหลายชนิดตั้งแต่ยุคโบราณ ซึ่งทำเป็นรูปร่างลักษณะแปลกบ้าง น่ารักบ้าง สะสมไว้จำนวนมากซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ ๆ อาจจะไม่เคยเห็นหรือไม่เคยรู้จัก ครั้งหนึ่งนั้นกระต่ายขูดมะพร้าวนั้นเป็นของใช้คู่ครัวเลยก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันเข้าใจว่าคงจะเหลือน้อยเต็มที่แล้วครับ กับการขูดมะพร้าวด้วยเหล็กขูดเพื่อขั้นเอากระทิ.... ในส่วนของศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการร้องรำของภาคใต้ที่เข้ามาในหัวทันทีเลยก็คือ โนราห์ กับหนังตะลุง ในส่วนของการจัดแสดงนี้มีทั้งหุ่นจำลองและเครื่องดนตรี ฉากหนัง ตัวหนังต่างๆ สมบูรณ์ครบถ้วน รู้สึกภาคภูมิใจกับส่วนหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมไทยที่สวยงาม แม้ว่าวันนี้ศิลปการแสดงแบบไทยๆนั้นถือว่ามีลมหายใจที่รวยรินเหลือเกิน ในนี้จะมีประวัติของศิลปินแห่งชาติในสาขาต่างๆให้ได้ศึกษาด้วย อ่านประวัติของแต่ละท่านถึงความเป็นมา และความทุ่มเท แล้วตื้นตันน้ำตาจะไหล (ไม่ได้สตอนะ...รู้สึกแบบนั้นจริงๆ) ต้องยอมรับว่าของที่จัดแสดงที่แห่งนี้เยอะมาก ถูกจัดไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นห้องๆ ได้อย่างเรียบร้อย มีเรื่องราวบ่งบอกถึงวิถีชีวิตชาวใต้เมื่อครั้งอดีตได้เป็นอย่างดี ไม่ใช่ดีธรรมดา คือดีมากทีเดียว หากคุณต้องการเรียนรู้เรื่องราวของภาคใต้ ความเป็นมา วิถีชีวิต วัฒนธรรม หรือแม้แต่เรื่องราวของภูมิปัญญาขาวบ้าน ต้องขอแนะนำเลยว่าต้องมาที่นี่ รับรองได้ว่าเต็มอิ่มแน่นอน หากต้องการเดินชมการจัดแสดงให้ครบถ้วนทุกส่วนควรเผื่อเวลาไว้มากหน่อยนะครับ อย่างน้อยต้องมีสองชั่วโมง หรือมากกว่านั้นหากท่านชอบพิเคราะห์ชิ้นงานและเรื่องราวต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ การเดินทาง |