ส่งต่อให้เพื่อน |
วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอเมือง วัดไชยชุมพลชนะสงคราม(วัดใต้) ตำบลบ้านใต้ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง ใต้จากลำน้ำแคว 2 แคว ที่มาบรรจบกัน ตำบลที่วัดนี้ตั้งอยู่เดิมที่เรียกว่า ตำบลปากแพรก |
|||||||||||||||||||||||||||||||
ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2328 หลังจากรบพม่าชนะที่ทุ่งลาดหญ้าแล้ว ได้โปรดฯให้ย้าย เมืองกาญจนบุรี จาก ต.ลาดหญ้า ริมเขาชนไก่ ลงมาตั้งที่ ต.ปากแพรกนี้ทางด้านฝั่งซ้ายของแม่น้ำ ตรงที่แควทั้ง 2 มาบรรจบกันนั่นเอง ต่อมาปี พ.ศ.2374 ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดฯ ให้ก่อสร้างกำแพงเมือง และป้อมปราการขึ้นห่างจากริมฝั่งประมาณ 3 เส้นเศษ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดและหมู่บ้านที่อยู่ในบริเวณตัวเมือง วัด หมู่บ้านใด ที่อยู่ด้านเหนือ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเหนือ บ้านเหนือ และวัด หมู่บ้านใด ที่อยู่ด้านใต้ชาวบ้านเรียกว่า วัดใต้ บ้านใต้ ตั่งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา ประวัติความเป็นมาของวัดไชยชุมพลชนะสงคราม วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมืองกาญจนบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ด้านทิศตะวันออก อยู่ห่างทางใต้จากจุดแม่น้ำแคว 2 แคว ไหลมาบรรจบกันประมาณ 10 เส้น ตำบลที่ตั้งวัดอยู่เดิมเรียกว่า ไตบลปากแพรก" ที่เรียก ดังกล่าว เนื่องจากแพรกแห่งลำน้ำทั้งสอง คือ แควไทรโยค (แควน้อย) กับแควศรีสวัสดิ์ (แควใหญ่) ไหลมาบรรจบรวมรวมเป็นสายเดียวกัน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่กลอง จึงเรียกตำบลนี้ว่า "ตำบลปากแพรก" มาแต่โบราณ วัดและหมู่บ้านที่อยู่ในบริเวณตัวเมือง วัดใดบ้านใดที่อยู่ด้านเหนือเมืองชาวบ้านก็เรียกว่า "วัดเหนือ บ้านเหนือ" วัดใดบ้านใดที่อยู่ด้านใต้เมืองชาวบ้านก็เรียกว่า "วัดใต้ บ้านใต้" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาภายหลังตำบลปากแพรกได้แยกเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านเหนือ ตำบลบ้านใต้ ตำบลปากแพรก มาจนถึงปัจจุบันนี้ (ตำบลบ้านเหนือและตำบลบ้านใต้อยู่ในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) นับเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกาญจนบุรีมาแต่โบราณกาลวัดหนึ่ง หาประวัติเป็นที่แน่นอนไม่ได้ว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด ใครเป็นผู้สร้างกันแน่ อาศัยทราบจากผู้เฒ่าเล่ากันมาว่าพระยาตาแดงเป็นผู้สร้าง แต่จะเป็นการสร้างขึ้นใหม่ หรือซ่อมแซมบูรณะต่อเติมจากของเดิมซึ่งมีอยู่มาก่อนแล้วก็ได้ ทั้งนี้เพราะทราบกันแต่คำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาเท่านั้น จะเท็จจริงประการใดยังไม่มีหลักฐานหรือตำนานการสร้างวัดนี้ อีกนัยหนึ่งสันนิษฐานว่า เมื่อ พ.ศ.2374 รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาคลังออกมาดูที่สร้างป้อมสร้างกำแพงเมืองกาญจนบุรี ในคราวนั้นเจ้าพระยาพระคลังอาจจะได้ขนานชื่อหรือขอพระราชทานชื่อวัดใต้หรือวัดท้ายเมืองว่า "วัดไชยชุมพลชนะสงคราม" ก็เป็นไปได้ ในการสร้างกำแพงเมืองครั้งนั้น อาจจะได้ปฏิสังขรณ์พระอารามและพระเจดีย์ของวัดด้วยก็ได้
แต่ปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายยิ่งพระเจดีย์โบราณวัดไชยชุมพลแห่งนี้ต้องถูกรื้อถอนลงเนื่องจากเหตุภัยธรรมชาติ คุกคาม เมื่อปี 2487 กระแสน้ำพัดตลิ่งพังเข้ามาจนถึงองค์พระเจดีย์เวลานี้เหลือแต่ซากฐานอิฐและดินที่พูนอยู่ริมตลิ่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้นภายในองค์พระเจดีย์เมื่อรื้อถอนลงได้พบอัฐิบรรจุอยู่เป็นจำนวนมาก จึงสันนิษฐานว่าคงจะเป็นอัฐิ ของวีรชนผู้ทะแกล้วกล้า ซึ่งได้สละชีวิตต่อต้านศัตรูของชาติไทย ในครั้งกระโน้นแน่แท้ เมื่อครั้งที่ประเทศไทยส่งทหารไทยไปสู่สมรภูมิรบในสงครามเวียดนาม เริ่มตั้งแร่รุ่นจงอางศึก และ รุ่นเสือดำ จากกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายกาญจนบุรี ก่อนเดินทางไปรบจะต้องมาประกอบพิธีตัดไม้ข่มนามและลอดซุ้มประตูที่วัดไชยชุมพลชนะสงครามก่อนทุกรุ่น เพื่อเป็นสิริมงคลและแคล้วคลาดปลอดภัยจะได้รับชัยชนะทุกครั้งเหมือนเมื่อครั้นอดีตที่ผ่านมา พระอุโบสถ พระอุโบสถหลังเก่า สร้างประมาณ พ.ศ.2370 ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าร้อยปี เพดานเขียนภาพต่าง ๆ เล่น ภาพพรหมลูกฟัก ภาพเทวดา ภาพพระราหูอมจันทร์ และผนังด้านข้างเขียนภาพประวัติขุนแผนย่างกุมารทอง ตามบทประพันธ์เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ศาลาการเปรียญ ศาลาการเปรียญ กว้าง 17 เมตร ยาว 60 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2500 เป็นอาคารชั้นเดียวโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคา 3 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบ มีช่อฟ้า ใบระกา ภายในเขียนภาพจิตกรรม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้า เมื่อปี พ.ศ.2516 นมัสการหลวงพ่อวัดใต้ มณฑปรูปหล่อหลวงพ่อวัดใต้ ศาลาหลวงปู่เปลี่ยน-หลวงพ่อไพบูรย์ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม นับว่าเป็นวัดที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของพี่น้องชาวจังหวัดกาญจนบุรีเพราะเป็นวัดที่ สำคัญทางประวัติศาสตร ์ และยังมีความสำคัญทางด้านการศึกษา ด้านศาสนาด้วยเพราะในวัดมีโรงเรียนสอน ปริยัติธรรม ทั้งบาลีและนักธรรม นับว่าเป็นสำนักเรียนที่จัดการศึกษาได้อย่างกว้างวาง การเดินทาง แผนที่ |