ส่งต่อให้เพื่อน |
วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี อำเภอเมือง ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สร้างขึ้นในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 ชาวบ้างเรียกว่า วัดใหม ต่อมาจึงได้นามว่า วัดโพธิสมภรณ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร(โพธิ เนติโพธิ) อดีตสมุหเทศาภิบาล มณฑลอุดรผู้สร้างวัดนี้ |
|||||||||||||||||||||||
วัดโพธิสมภรณ์ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2449 ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งรัตนโกสินทร์ โดยมหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้พิจารณาเห็นว่าในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี มีเพียงวัดมัชฌิมาวาส วัดเดียวเท่านั้น สมควรที่จะสร้างวัดขึ้นอีกสักวัดหนึ่ง จึงได้ไปสำรวจดูสถานที่ทางด้านทิศใต้ของ “หนองนาเกลือ” ซึ่งเป็นหนองน้ำกว้างใหญ่ อุดมไปด้วยเกลือสินเธาว์ มีปลาและจระเข้ชุกชุม (ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หนองประจักษ์” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี) เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสมควรแก่การสร้างวัดได้เพราะเป็นที่ราบป่าละเมาะ เงียบสงบดี ไม่ใกล้ไม่ไกลจากหมู่บ้านมากนักและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เมื่อตกลงใจเลือกสถานที่ได้แล้ว ก็ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้ง ถากถางป่าจนพควรแก่การปลูกกุฏิ ศาลาโรงธรรม สำหรับใช้เป็นที่บำเพ็ญบุญ และเป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปีของหน่วยราชการ ใช้เวลาสร้างอยู่ประมาณ 1 ปี ในระยะแรกชาวบ้านเรียกว่า “วัดใหม่” เพราะ แต่เดิมมีเพียงวัดมัชฌิมาวาส ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “วัดเก่า” ด้วยพบร่องรอยเป็นวัดร้างมาก่อน มีเจดีย์ศิลาแลงเก่าแก่และพระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก และได้กราบอาราธนา พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู) เจ้าคณะเมืองอุดรธานี จากวัดมัชฌิมาวาสมาเป็นเจ้าอาวาสวัด พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) ได้นำความขึ้นกราบทูลขอชื่อต่อ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ ได้ทรงประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์” เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แด่ พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) ผู้สร้างวัดนี้ ภาพจิตกรรมฝาผนัง เรื่องราวปฏปทาพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นภาพเขียนเสมือนจริง วาดด้วยสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ ขนาดกว้าง 3.40 ม. ยาว 7 ม. โดยจิตกรฝีมือเยี่ยม คุณสมยศ ไตรเสนีย์ และคณะ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างพระบรมธาตุธรรมเจดีย์ ให้วาดภาพให้หัวข้อเรื่องปฏิปาพระธุดงคกรรมฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 2.เพื่อสื่อสารให้เห็นถึงความเกี่ยวดยง ระหว่างต้นกำเนิดวงศ์ธรรมยุต และวงศ์พระธุดงคกรรมฐาน ได้แก่ภาพหมู่บูรพาจารย์ เริ่มจากพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ให้กำเนิดวงศ์ธรรยุต 3.เพื่อสื่อสารให้เห็นถึงความเป็นมาในการก่อสร้างพระบรมธาตุธรรมเจดีย์ โดยมี พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) เป็นผู้นำ พร้อมด้วยคณะศิษย์ฝายบรรพชิตและคฤหัสถ์ และพระองค์เจ้าพระพัชรกิติยาภา ทรงมีจิตศรัทธาให้ความสนพระทัยอุปถัมภ์บำรุง การก่อสร้างพระบรมธาตุธรรมเจดีย์ จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ได้แก่ ภาพพระอุดมญาณโมลี กับ พระเจ้าหลานเธอฯ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา โดยมีพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐาน อยู่ด้านหน้า 5.เพื่อสื่อสารให้เห็นถึงเรื่องราวในสุบินนิมิตของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อันบ่งบอกถึงปฏิปทาในการปฏิบัติธรรมของท่าน อย่างมีนัยสุขุมลุ่มลึก ได้แก่ ภาพที่ท่านพระอาจารย์ ภูรทตฺโต เดินออกจากบ้านสู่ป่าอันรกชัฏที่เต็มไปด้วยขวากหนามจนพืนไปสู่ทุ่งกว้าง จากนั้นปีนขึ้นไต่ขอนชาติที่ล้มนอนอยู่ ต่อมาปรากฎม้าสีขาวเดินมาหาก็เลยขั้นขี่ม้า ซึ่งได้พาท่านวิ่งไปอย่างเต็มกำลังตรงไปยังตู้พระไตรปิฎกซึ่งวิจิตรงดงาม แต่มิทันได้เปิดดู ก็รู้สึกตัวตื่นขึ้น 6.เพื่อสื่อให้เห็นถึงเทวทูตทั้ง 4 อันเป็นเครื่องเตือนสติ ไม่ให้ใช้ชีวิตด้วยความประมาทมัวเมา ได้แก่ ภาพคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ระเบียบการเข้ากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ ปูชนียสถานอันควรแก่การเคารพสักการะ วันว่างแวะมาสักการระพระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺทิโป) สูดอากาศบริสุทธิ์ ถ่ายรูปที่พระบรมธาตุธรรมเจดีน์ หรือจะมาแวะเพื่อทำสมาธิให้จิตใจสงบก็ไม่ว่ากัน การเดินทาง แผนที่ |