ส่งต่อให้เพื่อน |
วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย วัดสะแก ตั้งอยู่เลขที่ 29 หมู่ที่ 7 ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสงฆ์ ฝ่ายมหานิกาย |
||||||||||||||||||||||||||||
วัดสะแก เดิมมีเนื้อที่ 13 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา ต่อมาปี พ.ศ. 2522 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้มอบเงินให้ผู้ใหญ่เชิด หัสถีรักษ์ ซื้อที่นาของนางมา ตรีวิทย์ กับนายสังเวียน พงษ์ดนตรี เพิ่มอีกประมาณ 2 ไร่ และถมที่ด้านทิศตะวันออกของวัด ซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์และเป็นที่สาธารณะอีกประมาณ 1 ไร่ วัดสะแก เป็นวัดเก่าแก่ เดิมทีเดียวตั้งอยู่ที่วัดคลังทอง ( วัดโกโรโกโส ในปัจจุบัน ) ตำบลข้าวเม่า สร้างเป็นวัดขึ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 2525 ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนพม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา และตีกรุงศรีอยุธยาแตก เผาวัดวาอาราม ไล่ฆ่าคนไทยตายเป็นจำนวนมาก และขนเอาทรัพย์สินของคนไทยซึ่งนำไปฝังไว้ที่วัดคลังทองเป็นจำนวนมาก พระยาตากสินต่อสู้กับพม่าและตีทหารพม่าถอยทัพไป บังเอิญตรงนั้นมีคลองเล็กๆ อยู่ จึงตั้งชื่อคลองนั้นว่า คลองชนะ และพาทหารเดินทางต่อไปสว่างที่อุทัย จึงตั้งชื่อว่า บ้านอุทัย มาถึงทุกวันนี้ สันนิษฐานว่า วัดสะแกอาจจะสร้างมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 ก็ได้ โดยย้ายจากวัดคลังทองข้ามฝั่งมาตำบลธนู เหตุที่ย้ายจากวัดคลังทอง เพราะเมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมทุกปี เนื่องจากไม่มีเขื่อนกั้นเหมือนสมัยปัจจุบัน และสถานที่จะสร้างวัดสะแกในปัจจุบัน ก็เป็นที่เนินสูง มีต้นไม้นานาชนิด เช่น ต้นตะเคียน มะขวิด จัน เป็นต้น หลังศาลาใหญ่มีสระน้ำ ขอบสระน้ำเต็มไปด้วยต้นสะแก งิ้ว มะม่วง คาง สะเดา แสมสาร ตะเคียน ส่วนสระน้ำนั้นคงขุดดินมาถม เพื่อจะสร้างอุโบสถหลังเก่า กลางลานวัดมีต้นตะเคียนใหญ่ขนาดสองคนโอบไม่รอบและมีต้นตาลสูงตระหง่านกลางต้นตะเคียน ต่อมามีเรือขุด ชื่อ เรือหลวงจบกระบวนยุทธ ได้มาทำการขุดลอกคลอง ทางวัดได้ให้พ่นดินกลบสระน้ำจนเต็มและเอาต้นไม้ออก คณะศิษย์ได้ขอพื้นดินนาของหลานสาวหลวงพ่อใหญ่ ( พระโบราณคณิสสร ) มาถมจนเต็มลานวัด และซื้อดินลูกรังมาถมจนมีเนื้อที่กว้างขึ้น เว้นต้นโพธิ์ใหญ่ 1 ต้น ที่ไม่โค่น ด้านตะวันออกมีแต่ป่าไม้ กอไผ่ และต้นสะแก เต็มไปหมด ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว วัดสะแก ได้รับการพัฒนาปรับปรุงและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมาโดยลำดับ เพราะมีท่านคณาจารย์ที่มีความสามารถหลายท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงปู่ใหญ่ ติณณสุวัณโณ ท่านมีความสามารถในการปกครองและการบริหาร จะเห็นได้ว่า ในช่วงที่ท่านปกครองวัดสะแกในฐานะเจ้าอาวาส ในระหว่างปี พ.ศ. 2481 - 2525 นั้น ท่านได้พัฒนาปรับปรุงซ่อมแซมและดำเนินการก่อสร้าง อาคารศาสนสถานต่าง ๆ ของวัดไว้อย่างมากมาย อีกทั้งท่านเป็นผู้ดำริให้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลของวัดสะแกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2493 โดยท่านได้มอบหมายให้ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในปีดังกล่าววัดสะแกได้จัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลเนื้อผงพุทธคุณและเนื้อดินเผามากมายหลายแบบพิมพ์ ส่วนหลวงปู่ศรี ( สีห์ ) พินทสุวัณโณ นั้น ท่านเป็นคณาจารย์เป็นที่ยอมรับกันในด้านพุทธคุณ หมอยารักษาโรค หมอดู เป็นที่ยอมรับของบรรดาลูกศิษย์อย่างมากมาย ด้านวัตถุมงคลที่ท่านสร้างขึ้นนั้น บรรดาลูกศิษย์ได้ประจักษ์และยอมรับถึงพุทธานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์ และหลวงปู่ดู่ ได้มีโอกาสร่วมกับหลวงปู่ศรี จัดสร้างวัตถุมงคลของวัดสะแกหลายวาระ อีกทั้งหลวงปู่ดู่ ยังได้นำแบบพิมพ์พระ โดยเฉพาะพิมพ์รูปพระพรหมแบบต่าง ๆ ของหลวงปู่ศรี มาจัดสร้างเป็นวัตถุมลคลของท่านไว้มากมายเช่นกัน จะเห็นว่า คณาจารย์ทั้งสองท่าน มีความสำคัญต่อวัดสะแกและมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ดังที่กล่าวมาแล้วแต่ต้น กุฏิหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ หอสวดมนต์ วัดสะแก ว่าง ๆ ลองแวะมาชมความงามของวัดสะแก ทำบุญไหว้พระ ให้ทานอาหารปลา กันนะ... การเดินทาง พิกัดดาวเทียม : n14.359102,e100.628779 แผนที่ |