ส่งต่อให้เพื่อน |
ศูนยํหัตถกรรมร่ม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสันกำแพง ร่มสันกำแพงแหล่งผลิตร่มและงานฝีมือเลื่องชื่อ |
||||||||||||||||||||||||
เอกลักษณ์แต่เก่าก่อนและเป็นภาพที่ใครๆเห็นก็ต้องบอกว่านี้แหล่ะคือเชียงใหม่นอกจาก สาวเชียงใหม่แต่งตัวพื้นเมือง,การขี่จักรยานและร่มกระดาษสา แน่นอนสิ่งที่บ้านแสนสุขกำลังจะพานักท่องเที่ยวไปรู้จัก คือ ร่มกระดาษสาหรือร่มบ่อสร้างที่เคยได้ยินกันบ่อยๆ สาเหตุที่เรียกว่าร่มบ่อสร้างเพราะร่มนี้ผลิตกันที่บ้านบ่อสร้าง สมัยก่อนชาวบ้านจะทำร่มกันใต้ถุนบ้านแล้วนำออกมาวางเรียงรายเต็มกลางลานบ้านเพื่อผึ่งแดดให้แห้ง สีสันและลวดลายบนร่มนั้นสะดุดตาผู้พบเห็นมีทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน คือ ร่มที่ทำด้วยผ้าแพร ผ้าฝ้าย และกระดาษสา แต่ละชนิดมีวิธีทำอย่างเดียวกัน หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะชมขั้นตอนการผลิตไปชมได้ที่ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่มชาวบ่อสร้างทั้งตำบลรวมไปถึงอีก 8 หมู่บ้านในตำบลใกล้เคียงของพื้นที่อำเภอสันกำแพงและอำเภอดอยสะเก็ดในจังหวัดเชียงใหม่ล้วนแต่เป็นแหล่งผลิตร่มด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่างานทำมือของชาวบ้านได้กลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่หลายร้อยครัวเรือนในหลายๆหมู่บ้าน การผลิตชิ้นส่วนร่มเป็นหน้าที่ของแรงงานที่เป็นชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านตั้งแต่รุ่นพ่อเฒ่าแม่เฒ่าลงมาจนถึงคนหนุ่มสาวนับพันๆคน ดังนั้นบ่อสร้างจึงเป็นเพียงหมู่บ้านประกอบร่มโดยมีชิ้นส่วนต่างๆของร่มเดินทางมาจากต่างหมู่บ้านซึ่งส่วนประต่างๆของร่มที่เกิดจากแรงงานใต้ถุนบ้านและกระจายกันอยู่ทั่วไปก็จะมารวมกันอยู่ที่นี่เป็นจุดสุดท้าย การทำร่มบ่อสร้างมีมานับร้อยปีชาวบ้านส่วนใหญ่จึงมีความถนัดในการทำร่มแตกต่างกันไปตามชิ้นส่วนที่ได้รับมอบหมายในการผลิต เช่น หมู่บ้านสันพระเจ้างามผลิตหัวร่มและตุ้มร่ม บ้านออนทำโครงร่ม บ้านหนองโค้งหุ้มร่มและลงสี บ้านแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ดผลิตด้ามร่ม บ้านต้นเปาผลิตกระดาษสาแต่การประกอบชิ้นส่วนของร่มทั้งหมดจะมารวมกันอยู่ที่บ่สร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบายลวดลายและสีสันบนผืนร่มที่ถือว่าเป็น สัญลักษณ์อันเลื่องชื่อของร่มบ่อสร้างมีกลเม็ดเคล็ดลับในการทำร่มอยู่ที่การใช้แป้งเปียกผสมน้ำมะโก้ติดผ้าหรือกระดาษเข้ากับร่มทำให้ติดทนนานไม่หลุดร่อนก่อนเวลาอันควรและเวลาลงสีน้ำมันที่ต้องผสมกับน้ำมันมะมื้อหรือน้ำมันตังอิ๊วที่ทำให้ร่มทนแดด ทนฝนและใช้งานได้จริงไม่ว่าหน้าฝนหรือหน้าร้อนเพราะฉะนั้น นอกจากร่มบ่อสร้างจะเป็นของที่ระลึกสวยงามแล้วยังสามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้เป็นอย่างดี หลังจากที่นำร่มไปตากแดดจนแห้งแล้วก็จะนำร่มไปเขียนลวดลายและประกอบชิ้นส่วนต่างๆของร่มสุดท้ายก็จะเป็นการตรวจความเรียบร้อยของร่มก่อนนำไปจำหน่ายต่อไป หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะชมขั้นตอนการผลิตไปชมได้ที่ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่มซึ่งนอกจากจะมีสาธิตการทำร่มแล้ว ภายในอาคารยังมีของที่ระลึกและของพื่นเมืองต่างๆขายอีกด้วย ความเป็นมาในอดีตของ "เทศกาลร่มบ่อสร้าง" ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รู้จักกันในนามของหมู่บ้านที่มีงานผลิตร่ม หัตถกรรมพื้นบ้านของบ่อสร้างนั้นการจัดงานต่อเนื่องกันตลอดทุกปีแรกเริ่มเดิมทีเทศกาลร่มบ่อสร้างหรืองานร่มบ้านบ่อสร้างนั้น ในอดีตหมู่บ้านบ่อสร้าง อ.สันกำแพง ป็นหมู่บ้านเล็กๆท่ามกลางธรรมชาติแบบชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรมทำไร่ทำนาทำสวนยามว่างเว้นจากการทำการเกษตรมักจะผลิตร่มออกจำหน่าย ซึ่งเป็นร่มกระดาษสาต่อมาเติมแต่งลวดลายกลายเป็นร่มที่สวยงามน่าซื้อไว้ใช้และเป็นของฝากของที่ระลึก เมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ท่านอินศวร ไชยซาววงศ์ ลูกพ่อขุนเปา ซึ่งมีอาชีพเป็นพ่อค้าและเป็นคนพื้นที่ ได้เล็งเห็นว่าหมู่บ้านบ่อสร้างเป็นหมู่บ้านที่ประชาชนมีฝีมือ สามารถผลิตร่มออกขายได้เงินได้ทองกันจำนวนมากจึงชักชวนกับชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นในสมัยนั้นริเริ่มจัดงานขึ้นครั้งแรก ปีแรกมีผู้คนหลั่งไหลกันเข้ามาเที่ยวชมงานกันอย่างล้นหลามด้วย กิจกรรมนานาชนิดและการละเล่นพื้นบ้านต่อมามนต์ขลังของงานร่มบ่อสร้างได้จางหายไปจัดกันขึ้นมาต่อเนื่อง เช่นกัน ประสบความสำเร็จบ้างไม่ประสบความสำเร็จบ้านแต่ทำกันมาตลอดโดยจะจัดขึ้นประมาณ เดือนมกราคม ของทุกปีที่บริเวณศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้างมีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ทำจากกระดาษสาโดยเฉพาะร่มบ่อสร้างมีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้านและการประกวดต่างๆที่น่าสนใจ นอกจากร่มกระดาษสาแล้วที่ศนย์หัตถกรรมกระดาษสาและร่มยังมีการโชว์เขียนสีลวดลายผ้าบาติกซึ่งจะเขียนลงบนเสื้อหรือบางที่นักท่องเที่ยวจะนำกระเป๋าสตางค์หรือกระเป๋าสะพายนำมาให้ช่างเขียนด้วย ได้รู้จักความเป็นมาของศูนย์หัตถกรรมกระดาษสาและร่มกันแล้ว ก่อนจะไปเที่ยวน้ำพุร้อนสันกำแพงก็แวะมาชมสาธิตการทำร่มและซื้อร่มไปใช้กันแดดกันฝนกัน การเดินทาง 1. รถยนต์ส่วนตัวจากตัวเมืองเชียงใหม่ตามถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง ประมาณ 9 กิโลเมตร ก่อนถึงแยกเข้าบ้านบ่อสร้าง 300 เมตร 2. รถโดยสารสารธารณะ นั่งรถสองแถวสายเชียงใหม่-สันกำแพง คิวรถอยู่ที่ประตูช้างเผือก นั่งไปจนถึงจนทางแยกจะเห็นป้ายใหญ่ตรงแยก เขียนว่า "ศูนย์หัตถกรรมกระดาษสาและร่มทำร่ม" ทางด้านซ้ายมือ พิกัดดาวเทียม n18.767743,e99.076145 แผนที่การเดินทาง |