Shopdd เว็บสำเร็จรูปฟรี
Banner 2x
  • 1
  • 2
Home
Travel
Hotel
Restuarant
Photo
Business
Health
Beauty
Tamma
Webboard
Contact
น่าน
พะเยา
ลำปาง
ลำพูน
อุตรดิตถ์
เชียงราย
เชียงใหม่
แพร่
แม่ฮ่องสอน
กรุงเทพมหานคร
กำแพงเพชร
ชัยนาท
นครนายก
นครปฐม
นครสวรรค์
นนทบุรี
ปทุมธานี
พระนครศรีอยุธยา
พิจิตร
พิษณุโลก
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
สุโขทัย
อ่างทอง
อุทัยธานี
เพชรบูรณ์
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บึงกาฬ
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
ศรีสะเกษ
สกลนคร
สุรินทร์
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อำนาจเจริญ
อุดรธานี
อุบลราชธานี
เลย
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ตราด
ปราจีนบุรี
ระยอง
สระแก้ว
กาญจนบุรี
ตาก
ประจวบคีรีขันธ์
ราชบุรี
เพชรบุรี
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พังงา
พัทลุง
ภูเก็ต
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

ส่งต่อให้เพื่อน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา

ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ใกล้กับศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา(หลังเก่า) เยื้องมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502

     พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2500 ทรงมีพระราชปรารถกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า "โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษา และตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่" กรมศิลปากรจึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาขึ้นด้วยเงินบริจาคจากประชาขน ซึ่งผู้บริจาคได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์
     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนอนทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2504

ประวัติความเป็นมา
     กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของคนไทยนานถึง 417 ปี เมื่อเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 จึงปรากฎซึ่งร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีตโดยเฉพาะโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่ายิ่งของชาติ ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. 2499-2501กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานต่าง ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้พบพระบรมสารีริกธาตุ เครื่องราชูปโภคทองคำ พระพุธรูป พระพิมพ์ และโบราณศิลปวัตถุอื่น ๆ จำนวนมาก กรมศิลปกร จึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นเป็นที่รวบรวมสงวนรักษาโบราณศิลปวัตถุอันล้ำค่าดังกล่าว โดยใช้เงินที่ประชาชนบริจาค และรับพระพิมพ์ที่ขุดพบในกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ ชื่อ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา" จึงถูกตั้งเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อเทิดพระเกียรติและเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสถาปนาวัดราชบูรณะ เมื่อ พ.ศ. 1967 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับปรุงกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา โดยสร้างอาคารเพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง เป็นอาคาร 2 ชั้น และนายสุกิจ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไดืทำพิธีเปิดเมื่อ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2513

การจัดแสดง
     จัดแสดงในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในอนุสรณ์สถาน คือ จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน ซึ่งจัดแสดง 3 อาคาร
อาคารที่ 1 แบ่งการจัดแสดงเป็น 2 ชั้น
ชั้นล่าง
     ห้องโถงกลาง
    
จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.2499-2500 ได้แก่ เศียรพระพุทธรูป พระพุทธรูปสมัยทวารวดี สุโขทัย อู่ทอง ที่สำคัญมีคุณค่าทางศิลปะที่มีความงดงาม อาทิ

พระพุทธรูปศิลาขาว
สมัยทวารวดี ประทับนั่ง

พระพุทธรูปทรงเครื่องสำริด
ศิลปะอยุธยาตอนต้น
ห้องพระบาทแสดงธรรม

พระพุทธรูปศิลา ปางสมาธิ
สมัยทวารวดี ได้จากวัดนางกุย

พระพุทธรูปที่พบในพระพาหา พระมงคลบพิตร เศียรพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่
สมัยอู่ทองได้จากวัดธรรมิกราช

 
นอกจากนี้ยังจัดแสดงเครื่องไม้จำหลักฝีมือช่างสมัยอยุธยา ได้แก่

บานประตูไม้จำหลักรูปเทวดาทรงพระบรรก์
ศิลปะอยุธยา ได้จากพระอุโบสถและซุ้มพระคูหาพระสถูป
วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


หน้าบันจำหลักรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ
ได้จากวัดแม่นางปลื้ม

 ห้องเครื่องปั้นดินเผา และเครื่องถ้วย
- จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- จัดแสดงเครื่องถ้วยเบญจรงค์ เครื่องถ้วยลายน้ำทอง สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์

ห้องเงินตรา จัดแสดงเงินตราในประเทศไทย ได้แก่ เงินพดด้วง สมัยอยุธยา

ชั้นบน
     ห้องวัดมหาธาตุ
เป็นห้องประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งขุดพบในพระปรางค์วัดมหาธาตุ พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในผอบศิลาเป็นชั้นนอกซึ่งบรรจุสถูปครอบซ้อนกัน 7 ชั้น

1. พระพิมพ์เงิน รูปพระพุทธรูป
    ได้จากกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ

2. ฝาสถูปทองคำประดับอัญมณี
    ภายในบรรจุผอบทองคำที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

3. ตลับทองคำรูปสิงโต

4. ปลาหินเขียนลายทอง


 ห้องโถงกลาง
     -
จัดแสดงพระพิมพ์สมัยลพบุรี สุโขทัย อยุธยา ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
     - จัดแสดงเครื่องแก้วผลึก เครื่องถ้วยเล็ก ๆ ได้จากวัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ
     - จัดแสดงภาพพรบฎ สมัยรัตนโกสินทร์ เป็นภาพพระพุทธเจ้ามีสาวกพนมมือ อยู่ด้านหลัง ตอนล่างเป้ฯภาพทวยเทพพากันมาบูชาพระธาตุจุฬามณี ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

 

1. วิหารจำลองดินเผา
   
ศิลปะอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 23 

2. พระพิมพ์ชิน ปางลีลา ซุ้มเรือนแก้ว
   
ศิลปะอยุธยา ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

 3. พระพิมพ์ชินปางมารวิชัยในซุ้มระฆัง
    
ศิลปะอยุธยา ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
 

 4. ภาพพระพุทธเจ้า มีสาวกพนมมือ อยู่ด้านข้าง ตอนล่างเป็นภาพทวยเทพพากันมาบูชาพระธาตุจุ)มณี ในสวรรค์ชั้นดาวดิงส์ และภาพพระมาลัยเสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระอินทร์ และเทวดา

5. ตู้พระธรรมลายรดน้ำ ศิลปะอยุธยา

    
     ห้องวัดราชบูรณะ จัดแสดงเครื่องทองซึ่งค้นพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ เช่น เครื่องประดับ เครื่องราชูปโภค เครื่องราชกุธภัณฑ์ ที่สำคัญได้แก่ พระแสงขรรค์ชัยศรี พระเต้าทักษิโณทก ช้างทรงเครื่อง เครื่องประดับศรีษะ พระพุทธรูป พระพิมพ์ กำไล แหวน กรองศอ พาหุรัด ฯลฯ

แผ่นทองรูปสัตว์ในเทพนิยาย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 20 ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

เครื่องประดับศรีษะสตรีทองคำ ศิลปะอยุธยาถักสานด้วยเส้นทองคำ    เป็นเส้นเล็ก ๆ ทำเป็นลวดลายดอกไม้ใช้ครอบมวยเพื่อป้องกันเกศาสยาย ได้จากกรุวัดราชบูรณะ ภาชนะรูปหงส์ทองคำ ตลับกลม จอกน้ำ เป็นเครื่องราชูปโภค ศิลปะอยุธยาพุทธศตวรรษที่ 20 ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
กำไรทอง ศิลปะอยุธยา

 อาคารจัดแสดง 2

พระพุทธรูป
ปางประทานอภัย
สำริด ศิลปะลพบุรี ศตวรรษที่ 17-18
พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบพี
ศิลปะทวารวดี
พระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ สมัยทวารวดี พระกเณศ
สมัยลพบุรี

 อาคารจัดแสดง 3
    
อาคารเรือนไทยเป็นหมู่เรือนไทยภาคกลาง ปลูกอยู่กลางคูน้ำ จัดแสดงศิลปะพื้นบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยในสมัยก่อน เช่น เตาเชิงกราน ใช้ในการหุงต้มในครัว กระต่ายขูดมะพร้าว ตระกร้ากระจาด เป็นต้น

ภาพอาคารทรงไทย ไม้สักทอง ปลูกสร้างอยู่กลางน้ำ

   
กล่องใส่ยาสูบรูปเต่า เตารีดเหล็ก กระต่ายขูดมะพร้าว ชุดเชี่ยนหมากทองเหลือง


เครื่องใช้ภายในอาคารเรือนไทย


แผนผังพิพิธภัณฑ์ 

แผนผังอาคารจัดแสดง พิพิธภัณฑ์  
1. เครื่องทองวัดมหาธาตุ 8. ศิลปะในประเทศไทย
2. พระพิมพ์ 9. ห้องประชุม
3. เครื่องทองวัดราชบูรณะ

10. อาคารเรือนไทย

4. เครื่องปั้นดินเผา 11. ห้องจำหน่ายบัตรเข้าชม
5. เศียรพระพุทธรูป และพระพุทธรูป 12. สำนักงาน
6. เครื่องไม้จำหลัก 13. สุขา
7. เงินตรา 14. สุขา


การเดินทาง
ทางรถยนต์ :
จากกรุงเทพฯ สามารถเดอนทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้หลายเส้นทางดังนี้
     - ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
     - ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทบุรี หรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานี ต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) แล้วแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
     - ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทางรถโดยสารประจำทาง
    
กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและปรับอากาศ รถออกจากสถานีขนส่ง สายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 (หมอชิต 2) ทุกวัน วันละหลายเที่ยว รถธรรมดาและรถปรับอากาศ สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.936-1972

ทางรถไฟ
     สามารถใช้ขบวนรถโดยสารที่มีปลายทางสู่ภคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปสายเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางบ้านภาชี ในแต่ละวันจะมีรถไฟบริการขนส่งสินค้าและผู้ดดยสารขึ้นล่องวันละหลายเที่ยว นอกจากนี้ การรถไฟฯยังจัดขบวนรถจักรไอน้ำเดินระหว่างกรุงเทพฯ-สถานีอยุธยา-กรุงเทพฯ ในโอกาสพิเศษ ปีละ 4 ขบวน คือวันที่ 26 มีนาคม (วันสถาปนาการรถไฟและวันที่ระลึกถึงการเปิดทางรถไฟสายแรกที่เดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-นคราชสีมา ในปี พ.ศ.2433) วันที่ 12 สิงหาคม (วันปิยมหาราช เพื่อรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงให้กำเนิดกิจการรถไฟไทย) และวันที่ 5 ธันวาคม (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) รายละเอียดสอบถาม หน่วยบริการเดินทางสถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร.223-7010,223-7020

พิกัดดาวเทียม : n14.351128,e100.561917

แผนที่
 

 


Trip on Tour
Home  |  ท่องเที่ยว  |  ที่พัก  |  ตระเวนชิม  |  คุยผ่านเลนส์  |  คัมภีร์เศรษฐี  |  สุขภาพ  |  เสริมสวย  |  แสงธรรมส่องใจ  |  Sitemap  |  ติดต่อเรา
Copyright © 2009 BanSansuk.com
dedicated server, thailand dedicated server, cloud hosting, web hosting and domain name by IC-MyHost